ประวัติเรา

ประวัติและที่มาของคริสตจักรชลบุรีแบ๊บติสต์

               ประวัติคริสตจักรชลบุรี แบ๊บติสต์ความเป็นมาของคริสตจักร ในปี ค.ศ. 1949 มีมิชชั่นนารีคณะแบ๊บติสต์ได้ย้ายมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาในประเทศไทย และได้เริ่มทำงานกับชาวจีนในกรุงเทพฯก่อน และเมื่อเข้าใจภาษาไทยดีพอสมควรแล้ว จึงเริ่มทำงานประกาศกับคนไทยในเวลาต่อมา เมื่อมีมิชชั่นนารีเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นๆ จึงได้ขยายงานประกาศออกไปตามต่างจังหวัด
             ในปี ค.ศ.1951 ครอบครัวอาจารย์โรนัลด์ ซี ฮิล ได้เข้ามาทำการประกาศที่จังหวัดชลบุรี โดยทำการเช่าตึกแถว 3 ชั้น มีกำหนด 10 ปี ใช้ชั้น 3 เป็นที่นมัสการวันอาทิตย์(ตึกสำราญพานิชปัจจุบัน) อยู่ที่ ถนนวชิรปราการ เยื้องโรงภาพยนตร์เฉลิมราช พระเจ้าได้อวยพระพรให้มีคนมารับเชื่อ และรับศีลบัพติสมา 11 คน
             สถาปนาเป็นคริสตจักร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ.1959 ได้สถาปนาเป็นคริสตจักร โดยใช้ชื่อว่า“คริสตจักรชลบุรี แบ๊บติสต์” มีคนรับบัพติสมาเพิ่มอีก 6 คน รวมเป็น 17 คน เป็นสมาชิกรุ่นแรกใน 10 ปีแรก และในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันมีผู้รอรับศีลบัพติสมาอีก 6 คน
             เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ อาจารย์โรนัลด์ ซี ฮิล เป็นศิษยาภิบาลคนแรก
อาจารย์บุญครอง ปิฏกานนท์ เป็นเลขานุการคนแรก
            คุณพานี ชาวสวนทอง เป็นเหรัญญิกคนแรก
สถาปนาศาสนาจารย์คนแรกและครั้งแรกของคริสตจักรแบ๊บติสต์ชลบุรี ในปี ค.ศ.1962 (วันที่จำไม่ได้)                 เดือนเมษายน ทางคริสตจักรได้ทำการสถาปนา อาจารย์บุญครอง ปิฎกานนท์ เป็นศาสนาจารย์ และเข้ารับหน้าที่เป็นศิษยาภิบาลแทนอาจารย์โรนัลด์ ซี ฮิล
            เริ่มการก่อสร้างคริสตจักรปัจจุบัน คริสตจักรปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 222/1 หมู่ 9 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง   จังหวัดชลบุรี สร้างในที่ดินของมูลนิธิคริสตจักรแบ๊บติสต์แห่งประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในต้นปี ค.ศ.1962 สร้างเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1962 และได้ทำการเปิดถวายอาคารใหม่ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1962 จนถึงปัจจุบัน




ต้นสังกัดของเรา




ประวัติและผลงาน 

                 ประวัติและที่มาของเรา.. โดย อาจารย์ วิยะดา ทัฬหิกรณ์ สื่อมวลชนแบ๊บติสต์ เริ่มปี ค.ศ. 1960 มีการทำสำเนาฟิล์มภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวในพระคัมภีร์เป็นพากษ์ภาษาไทย และนำออกอากาศทางวิทยุเพื่อการประกาศ ต่อมาได้ทำรายการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ปี ค.ศ. 1971 ก่อตั้งสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย (ส.ค.บ.) และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นจุดแห่งความร่วมมือระหว่างคริสตจักรทั้งหลาย ปี ค.ศ. 1976 การตั้งองค์กรที่ชื่อว่า สหพันธ์แบ๊บติสต์ในประเทศไทย (Thailand Baptist Convention ต่อมาเป็น Thailand Baptist Fellowship) เป็นการร่วมมือกับพี่น้องคริสเตียนแบ๊บติสต์ อื่นๆอันประกอบด้วย ส.ค.บ. ภาคสิบสอง กะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ ลาหู่แบ๊บติสต์ ปี ค.ศ. 1977 มีการก่อตั้งมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มีผู้นำคนไทยเป็นคณะกรรมการร่วมกับมิชชันนารี โดยทางมูลนิธินี้เองที่ทำให้คณะแบ๊บติสต์ได้รับการรับรองให้เป็นองค์การย่อยทางคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปี ค.ศ. 1980-1989 เป็นช่วงที่คริสตจักรในคณะแบ๊บติสต์ ให้ความช่วยเหลือแบ๊บติสต์ได้ทุ่มเทเงินกว่าล้านดอลล่าห์สำหรับอาหาร และมีหลายคนในหมู่พวกเขาขณะนี้กำลังรับใช้งานของพระเจ้าอยู่ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในช่วงนี้ มีการจัดอมรมผู้นำในชนบท เพื่อขยายงานคริสตจักรในชนบท มีการเริ่มงานใหม่ในหมู่ชาวเขาในจังหวัดน่าน ปี ค.ศ. 1990-1999 ในช่วงเวลานี้สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ได้เข้ามาดูแลและรับผิดชอบและควบคุมสถาบันของแบ๊บติสต์มากขึ้นเป็นลำดับ และมุ่งประสานงานในหมู่คริสตจักรทั้งหลายในแบ๊บติสต์ ให้ร่วมใจกันในการทำพันธกิจในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น งานสังคมสงเคราะห์ในสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อย่างเด่นชัด ได้แก่ โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า พันธกิจศูนย์แสงเดือน พันธกิจเรือนจำคริสเตียนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ นอกจากหน่วยงานเหล่านี้แล้ว คริสตจักรต่างๆในสังกัดคริสตจักรแบ๊บติสต์ ทำพันธกิจด้านพัฒนาและสังคมสงเคราะห์ตามความเห็นของคริสตจักร ไม่ว่าจะในกรุงเทพหรือในต่างจังหวัด จะศึกษาและทำการสงเคราะห์เพื่อชุมชนของตน โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้า มุ่งเน้นการประกาศพระกิตติคุณควบคู่กับการรักษาพยาบาล เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 ในระยะ 40 ปี ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของคนไทยในภาคตะวันออก และเกิดคริสตจักรคริสเตียนแบ๊บติสต์หลายแห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ตราด นครนายก จันทบุรี และสระแก้ว คณะผู้บริหารโรงพยาบาลตระหนักถึงนโยบายและเป้าหมายว่า เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือชาวไทยทั้งฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณ การรักษาพยาบาลที่นี่เป็นที่ยอมรับของพี่น้องชาวไทยในภาคตะวันออก ไม่เพียงรักษาพยาบาลยังมีกลุ่มเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ได้รับฟังพระกิตติคุณ และมีความสนใจ นอกจากงานด้านเยี่ยมเยียนผู้ป่วยแล้ว ทางโรงพยาบาลบางคล้า ยังได้พัฒนาบุคลากรที่จะมาช่วยงานพยาบาล โดยมีการให้ทุนแก่นักศึกษาคริสเตียนพยาบาล เมื่อศึกษาสำเร็จสามารถมารับงานพยาบาลได้ ทั้งนี้เพราะมีความต้องการแพทย์และพยาบาลอย่างมาก สำหรับงานสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของประเทศ เช่น ในปี ค.ศ. 1999 เป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากปี ค.ศ. 1996 เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความลำบากมากขึ้น โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้าก็ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว จำนวนคนไข้ลดลงประมาณ 20% ประกอบกับขาดบุคลากร จนในที่สุดโรงพยาบาลได้ประสานงานกับมิชชั่นแบ๊บติสต์และคริสตจักรท้องถิ่นได้ออกทำคลีนิกเคลื่อนที่โดยเฉพาะจังหวัดต่างๆ ทางภาคอีสาน นำโดยคณะแพทย์ พยาบาลออกหน่วยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วย เหลือคริสตจักรในงานสงเคราะห์ชุมชนในภาคตะวันออกมากขึ้น ต่อมาได้เปิดสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลาง จังหวัดน่าน งานนี้นายแพทย์ จอห์น โอเวน กิ๊บสัน ซึ่งเดิมเป็นแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลบางคล้า ท่านได้ตระหนักถึงความต้องการด้านการรักษาพยาบาลในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป จึงตั้งสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลางขึ้นเพื่อ สำแดงถึงความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อชาวไทยในภาคตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น